แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยา

-->





แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยา
 (Post modern and Sociolocy)
 ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

                แนวคิดหลังสมัยใหม่เป็นแนวคิดที่เสนอให้ทำความเข้าใจเป้าหมายในระยะยาวของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทางวัฒนธรรมและการขยายตัวเชิงสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในระดับปัจเจก ภายใต้แนวคิดที่ว่า ความสวยงามของชีวิตที่ดำเนินตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งดีงาม ในความเป็นจริงไม่มีมนุษย์ ไม่มีธรรมชาติ และความจริงเป็นสิ่งไม่จริง เป้าหมายของชีวิตคือการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความพยายามที่จะยึดถือค่านิยมใหม่โดยการคิคค้นนวัตกรรมของสื่อภาษาเพื่อรองรับพฤติกรรมของบุคคล (Featherstone, 1991. p 126)

แนวคิดหลังสมัยใหม่คือ สภาพที่บุคคลสูญเสียความศรัทธา ความเชื่อในระบบสากลหรือความเชื่อในระดับรากเหง้าซึ่งแนวคิดในระบบดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพียงเรื่องเล่า(Examples include Socialism; Communism; Feminism; Religions)เช่น สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นต้น การเล่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นการอธิบายหรือเป็นตำนานหรือเรื่องความนิยมในโลกสมัยใหม่ที่ให้ความชอบธรรมแก่สถาบันทั้งในสถาบันและในรูปของกิจกรรม

ลักษณะสำคัญของหลังสมัยใหม่คือ 1) ปฏิกิริยาจากแนวคิดของประวัติศาสตร์ตะวันตกที่นำเสนอโดยนักสังคมวิทยาทั้งสำนักโครงสร้างหน้าที่และมาร์ก 2) ปฏิกริยาจากทฤษฎีระดับล่างที่เข้ามาแทนที่แนวคิดในอดีต มีลักษณะแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ไม่ต่อเนื่องและมีลักษณะแคบไม่กว้างขวาง นิยามเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดโครงสร้างนิยม (ทั้งมาร์กและแนวคิดโครงสร้างเศรษฐศาสตร์การเมืองอันเป็นพื้นฐานที่มีผลต่อวัฒนธรรมด้านโครงสร้างส่วนบนและหน้าที่นิยม) ไปสู่แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม(โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการปรับตัวด้านอำนาจของฟูโกต์ (Foucault,1993) และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในลักษณะการสนทนา การอภิปราย การถกปัญหาและการแลกเปลี่ยน 3) ปฏิกริยาจากและความสัมพันธ์ของแนวคิดวิทยาศาสตร์นำไปสู่ความจริงเกี่ยวกับสังคมโลกซึ่งแทนที่รูปแบบของสังคมวิทยาที่มักจะเปลี่ยนแปลงคำตอบเสมอและเป็นอัตตวิสัยที่มีความเป็นอคติ 4) การเน้นนักวิจัยที่เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาวิจัยทำให้เกิดความเป็นอัตตวิสัยมากกว่าความเป็นวัตถุวิสัย การศึกษาของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญมักจะทำการศึกษาภายใต้จุดยืนของทฤษฎีและรูปแบบของนักวิจัยซึ่งอย่างน้อยก็มีวิธีเชิงปริมาณที่ใช้สถิติกับรูปแบบเชิงคุณภาพที่มีความอคติสูง(www.aboutsociology. com)    
                                                                                                                              
นักสังคมวิทยา(โดยเฉพาะสตรี) สนใจความซับซ้อนและความวุ่นวายของลัทธิการล่าอาณานิคมของลัทธิทุนนิยม, ศึกษาชนชั้น เพศ ชนกลุ่มน้อย งานศึกษามากมายศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบด้านโครงสร้างและวัฒนธรรมทางสังคม มีการวิเคราะห์วิพากษ์แนวคิดทฤษฎีในตำรา การวิเคราะห์เรื่องเพศ  จิตวิทยาทางเพศเป็นต้น การถกเถียงกันของนักสังคมวิทยาที่เสนอว่า ควรเปลื่ยนแปลงการศึกษาจากความสนใจในเรื่องการผลิตไปสนใจเรื่องวัฒนธรรมการบริโภคให้มากขึ้น และมีข้อแนะนำอีกว่า ควรเน้นการิเคราะห์เชิงสังคมวิทยาที่มีลักษณะของแนวคิดหลังความทันสมัย ไม่ควรละทิ้งหรือปฏิเสธแนวคิดหลังความทันสมัยเสียทั้งหมด อย่างไรก็ตาม สิ่งดังกล่าวยังคงเป็นเพียงข้อถกเถียง ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ยี่สิบ สังคมวิทยายังคงมีอิทธิพลอย่างท่วมท้น และยังคงใช้วิธิการแบบต้นเปิดปลายปิด(Open ended) มาจนถึงปัจจุบัน      

แนวคิดหลังความทันสมัย มีลักษณะต่อต้านรากฐานปรัชญาความรู้อย่างสุดขั้วและเชื่อว่าไม่มีความรู้ใดถูกต้องที่สุด (http//: isc.ru.ac.th) อย่างไรก็ตาม แนวคิดยังไม่มีความชัดเจนว่าในที่สุดแล้วมันคืออะไร เนื่องจากไม่มีระเบียบวิธีในการศึกษา ไม่มีระบบในการอธิบายสังคมที่ชัดเจน ไม่ได้มีอุดมการณ์ในอนาคต คิดเพียงปัจจุบัน ไม่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมและไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของสังคมที่ต้องการ

5.1 ลัทธิโพสโมเดอร์น  
บ่อยครั้งที่เราจะพบคำถามในสื่อต่างๆซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับคำว่าวัฒนธรรมและคำว่าอัตตลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักสังคมวิทยามีความกังวลต่อแนวคิดดังกล่าว แนวคิดหลักของโพสโมเดอร์น เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในประวัติศาสตร์ซึ่งถือว่าปัจจุบันเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จ เป็นพลวัตต์ทางวัฒนธรรมทำให้ทฤษฎีสังคมวิทยาหลังความทันสมัยเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อทฤษฎียุคสมัยใหม่อย่างเช่น ทฤษฎีของมาร์ค เดอร์ไคม์ และแมกซ์เวเบอร์ ซึ่งจะเห็นความเป็นพลวัตต์ได้ชัดเจนในศิลปดนตรีและภาพยนต์ สมมติฐานหลักของแนวคิดโพสโมเดอร์นได้แก่ 1) สังคมสมัยกลางซึ่งถือว่าเป็นสังคมสมัยใหม่ไม่มีความก้าวหน้าและการศึกษาไม่ได้มีอะไรที่เพิ่มเติมโดยเฉพาะในสายการผลิตที่ทำให้สูญเสียความเป็นมนุษย์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ไม่ทำงาน 2) คุณสมบัติหลักของสังคมยุคใหม่คือ มีการเมืองรวมศูนย์มากขึ้นมีความเป็นรัฐราชการ มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมที่มีแรงงานเฉพาะมีการผลิตแบบมวลรวม วัฒนธรรมแบบเดิมถูกแทนที่ด้วยการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผล 3) คุณสมบัติหลักของสังคมยุคหลังสมัยใหม่คือ 1) ระบบเศรษฐกิจให้ความสำคัญต่อภาคบริการมากขึ้น แรงงานมีทักษะน้อยลง ผู้บริโภคซึ่งเป็นประชาชนกลายเป็นสมาชิกสหภาพการค้ามากขึ้น มีการผลิตสินค้าประเภทสินค้าทางวัฒนธรรมและการผลิตสื่อใหม่ๆสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม 2) อำนาจทางการเมืองของรัฐศูนย์กลางมีอำนาจการควบคุมน้อยลง รัฐอ่อนแอลงทั้งนี้เป็นผลจากโลกาภิวัตน์ 3) เกิดปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมใหม่ที่เน้นภาพมากกว่าวัตถุ 

นักสังคมวิทยามีความเห็นต่อวัฒนธรรมโครงสร้างทางสังคมมากกว่าที่จะกังวลเรื่องของสังคมวิทยา สังคมวิทยาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากแนวคิดหลังสมัยใหม่ปฏิเสธการเล่าเรื่องของทฤษฎีมาร์กที่อธิบายทุกเรื่องของชีวิตซึ่งเป็นเรื่องราวที่เป็นภาพใหญ่ไม่ได้แตกต่างจากเรื่องอื่นๆเพื่อให้ความรู้สึกที่เป็นชีวิตของเราเอง นอกจากนั้น แนวคิดหลังสมัยใหม่ยังปฏิเสธแนวคิดที่ว่าสังคมจะคืบหน้าและแนวคิดวิทยาศาสตร์จะช่วยให้มีการประเมินผล สนับสนุนทุนนิยมซึ่งเชื่อว่าทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์และการตลาด

                ราชและเออรี่ (Lash and Urry, 1987) มีความเห็นว่า ลัทธิมาร์กยังคงสามารถนำมาใช้กับสังคมสมัยใหม่ได้ โดยแนวคิดมาร์กยังคงเป็นประโยชน์ต่อการผลผลิต ระบบคอมพิวเตอร์จะมีส่วนในการเพิ่มอิสระต่อสินค้าทางวัฒนธรรมมากขึ้น

บราวกล่าวว่า มีเพียงสามวิธีเท่านั้นที่นักสังคมวิทยาจะต้องตั้งรับกับสังคมหลังความทันสมัย ประการแรกคือ การยอมรับและยอมแพ้ต่อสังคมที่ไม่สามารถอธิบายได้ ประการที่สอง ไม่สนใจต่อข้อวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมหลังความทันสมัยและดำเนินการตามแนวทางสังคมวิทยาต่อไป ประการที่สาม ใช้ทางสายกลางและการยอมรับและศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ ด้วยการศึกษาสิ่งที่ระบุโดยแนวคิดหลังสมัยใหม่ ยอมรับบางส่วนของการวิพากษ์วิจารณ์ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์Postmodern social theory is often described as postmodernisที่ทฤษฎีสังคมหลังสมัยใหม่อธิบาย

5.2  ความเห็นและข้อวิพากษ์ที่มีต่อแนวคิดหลังสมัยใหม่
มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของความจริงในสังคมสมัยใหม่ไว้ ประการด้วยกัน คือ ประการแรก ความจริงกระจุกตัวอยู่ในแวดวงของวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ และสถาบันที่ผลิตความจริง ประการที่สอ งความจริงยังขึ้นอยู่กับความคงที่ทางเศรษฐกิจและการกระตุ้นเพื่อให้เกิด กิจกรรมทางการเมือง ประการที่สาม ความจริงเป็นวัตถุ (the object) ซึ่งแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่มี การบริโภคและเผยแพร่กัน ประการที่สี่ ความจริงเป็นสิ่งที่ถูกผลิตและส่งผ่านต่อไปภายใต้ความควบคุมขององค์กรทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นหลัก (มหาวิทยาลัย, สื่อสารมวลชน, งานเขียน, กองทัพ) และประการสุดท้าย ความจริงเป็นประเด็นปัญหาของการถกเถียงทางการเมืองและการเผชิญหน้าทางสังคม (การต่อสู้ทางอุดมการณ์) ทั้งหมด (ธีรทัต  ชูดำ, 2549)

บรรดานักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นอ้างว่า ในสังคมร่วมสมัยที่มีความไฮเทคทางด้านสื่อและกระบวนการต่างๆที่เร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการแปรผัน กำลังผลิตสังคมโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งขึ้นมา และผู้ที่ให้การสนับสนุนแนวคิดอ้างว่า ยุคของความเป็นโพสท์โมเดิร์นได้ก่อให้เกิดภาวะทางประวัติศาสตร์ที่แปลกใหม่อันหนึ่งซึ่งเป็นการก่อตัวของสังคมวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนเดิมและต้องการแนวความคิดทฤษฎีใหม่มารองรับ

                เบาดริลลาร์ด ลิโอทาร์ด ฮาเวย์ และคนอื่นๆ (Baudrillard, Lyotard, Harvey, and other) ให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีต่างๆอย่างเช่น คอมพิวเตอร์และสื่อรูปแบบใหม่ของความรู้และการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเศรษฐกิจ กำลังสร้างรูปแบบทางสังคมหลังสมัยใหม่อันหนึ่งขึ้นมา เบาดริลลาร์ดและลิโอทาร์ด ได้ตีความของพัฒนาการด้านต่างๆเหล่านี้ในแบบฉบับที่แปลกใหม่ของข้อมูลความรู้และเทคโนโลยีขณะที่บรรดานักทฤษฎีนีโอ-มาร์กซิสท์ทั้งหลาย อย่างเจมสันและฮาเวย์ได้ตีความโพสท์โมเดิร์นในแง่พัฒนาการเกี่ยวกับขั้นตอนที่สูงกว่าของลัทธิทุนนิยม(higher stage of capitalism) ซึ่งได้รับการหยิบยกขึ้นมาโดยการแทรกซึมของทุนในระดับที่สูงขึ้นและการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสภาวะโลกไร้พรมแดน(Globalization)

                ปฏิกิริยาของปัญญาชนไทยต่อโพสท์โมเดิร์มีสองด้าน ด้านแรก เป็นการคลั่งไคล้ในสิ่งที่มีคำว่าโพสท์โมเดิร์นอยู่ เหมือนกับว่าภูมิปัญญามนุษยชาตินั้นได้มาถึงบทสุดท้ายพร้อมๆ กับการปรากฎของแนวคิดโพสท์โมเดิร์น ไม่มีคำตอบที่ดีกว่านี้ในอดีต และไม่มีคำตอบที่ลึกซึ้งกว่านี้ในอนาคต อีกด้านหนึ่งคือ การปฏิเสธ พร้อมกับการโจมตี ว่าโพสท์โมเดิร์นไม่มีอะไรใหม่ เป็นเรื่องเหลวไหล ไม่สนใจสังคมเป็นเพียงสิ่งใหม่ทางภูมิปัญญา

ขณะเดียวกันมีความพยายามที่จะอธิบายโพสท์โมเดิร์นให้มีลักษณะ "เพื่อสังคม" แล้วใช้วิธีคิดดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการสร้างปฏิบัติการทางวิชาการและการเมืองบางประการขึ้นมา เห็นได้ว่าปฏิกิริยาแบบแรกกับแบบที่สองมีความขัดแย้งกัน ดังนั้นวิวาทะและการโต้เถียงเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นที่ชัดเจนจึงมาจากสองกลุ่มนี้

นอกจากนั้นความหมายของโพสโมเดิร์นยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยังไม่มีความชัดเจน เป็นเพียง "กระแสความคิด" มากกว่าจะเป็น "สำนักคิด" ที่มีระเบียบวิธีปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่ไม่ชัดเจนตายตัว อย่างไรก็ตามผู้ที่วิพากษ์ไม่ได้ไม่เห็นด้วยทั้งหมดแต่เสนอว่า ความไม่ชัดเจนนั้นไม่ได้หมายความว่าโพสท์โมเดิร์นจะไม่มีลักษณะร่วม โพสท์โมเดิร์นยังมีสิ่งเป็นแก่นสารอยู่บ้าง และดำรงอยู่ควบคู่กับภาวะสมัยใหม่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นกระแสความคิดที่เป็นปฏิกิริยาต่อภาวะสมัย ใหม่ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะวิธีคิดที่เรียกว่ากระบวนการทำความเข้าใจในความรู้และความกระจ่างในสิ่งต่างๆ (Enlightenment) ซึ่งครอบงำโลกสมัยใหม่ในช่วงสองสามศตวรรษที่ผ่านมา

บทความหนึ่งที่เขียนในเวบไซด์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน(ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,2544) เสนอว่า “กลุ่มที่โจมตีโพสท์โมเดิร์นไว้อย่างรุนแรงที่สุดได้แก่ชาวลัทธิมาร์กซ์ ทั้งที่ปัญหาเรื่องลัทธิมาร์กซ์นั้นแทบไม่ได้เป็นประเด็นที่นักคิดแนวโพสท์โมเดิร์นสนใจ อย่างไรก็ตาม ลัทธิมาร์กซ์เป็นส่วนหนึ่งของภาวะสมัยใหม่ และมาร์กซิสท์เองเห็นพ้องกับความคิดพื้นฐานของภาวะสมัยใหม่หลายประการ โดยเฉพาะความคิดเรื่องการปลดปล่อยมนุษย์ รวมทั้งความคิดเรื่องสังคมอุดมคติในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องของแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อโพสท์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่"  

นอกจากนั้น ยังนำเสนอว่า “โพสท์โมเดิร์นเป็นความคิดที่คลุมเครือและไม่ชัดเจน และแม้แต่มิเชล ฟูโกต์เอง ก็ยอมรับว่าไม่แน่ใจเหมือนกันว่า "ภาวะหลังสมัยใหม่" หรือ "postmodernity" หมายความถึงอะไรกันแน่ ความคลุมเครือนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในระดับทฤษฎี หากแต่ยังรวมความไปถึงการดำรงอยู่ของ "หลังสมัยใหม่" ในฐานะที่เป็นความเป็นจริงทางสังคม ซึ่งคาลลินิคอสเสนอว่าเส้นแบ่งระหว่าง "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นได้อย่างชัดเจน และนั่นก็หมายความว่าความแตกต่างระหว่าง "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง”

                ธีรยุทธ์ บุญมี (ใต้ร่มธรรม, 2553) กล่าวถึงที่มาของโพสโมเดอร์นว่า มาจากพื้นฐานภาษาและสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีสัมพันธนิยม ชุดของความคิด ค่านิยม ภาษาและความรู้ที่แตกต่างกันแต่เท่าเทียมกันเนื่องจากสามารถเป็นตัวแทนของความรู้ได้เหมือนๆกัน



5.3  การนำทฤษฎีหลังความทันสมัยไปใช้ในทางสังคมวิทยา
   5.3.1 สังคมวิทยาหลังความทันสมัย
แอนเดอร์สัน(Anderson, 1997) พยายามนำทฤษฎีหลังความทันสมัยไปใช้ในด้านสังคมวิทยา เรียกว่า สังคมวิทยาหลังความทันสมัย มีความพยายามตั้งคำถามเพื่อหานิยามและขอบเขตของความจริงทางสังคม (Social Reality) คำที่นำมาเป็นประเด็นเพื่อนำไปสู่การศึกษาด้านสังคมวิทยามีลักษณะคล้ายกับคำว่า ภาวะอปกติ และภาวะการเบี่ยงเบน (Abnormal and Deviant) 

ในมโนทัศน์ของแนวคิดหลังความทันสมัย คือการหาวิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่แบ่งแยกจารีตของสังคม ซึ่งพิจารณา ครอบครัว สถาบันศาสนาและรัฐ  ฟูโกต์กล่าวว่า ภายในสังคมที่คนเราอาศัยอยู่ ระบบเศรษฐกิจจะมีความสัมพันธ์ภายในทำหน้าที่ของมันเองและมีระบบของกำลังอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน รูปแบบ ข้อห้าม ความยินยอมในการกระทำสิ่งต่างๆของคนในสังคม สิ่งสำคัญซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในสังคมได้แก่ หน้าที่ทางการเมืองของสังคมซึ่งเราสามารถค้นหาได้จากตัวของเราเอง ดังนั้น ฟูโกต์จึงมองว่าระเบียบทางสังคมเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ กฎหมายและรัฐ

การดำรงชีวิตภายใต้ระเบียบทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญ วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดความเป็นอยู่ของใครก็ตามในสังคม ชีวิตในสังคมเกือบจะเป็นบทสรุปของลักษณะทางวัฒนธรรมทางสังคมของชุมชนซึ่งดำรงอยู่คู่กับสังคม

อย่างไรก็ตาม ฟูโกต์ไม่ได้รวมสถาบันทางสังคมเช่น วัด โบสถ์ เข้าไปในแนวคิดของเขา โดยส่วนใหญ่ แนวคิดหลังความทันสมัย ไม่ได้ต้องการทำอะไรกับสถาบันทางสังคมดังกล่าว ทำให้เกิดแนวความคิดที่ว่า ศาสนา การปฏิบัติธรรม เป็นอันตรายต่อสังคมประชาธิปไตย การปฏิบัติธรรมภายในโบสถ์ของศาสนาคริสต์ ไม่สามารถยอมรับได้แต่หากเป็นศาสนาที่มีอยู่ในความคิดของคนแต่ละคนก็พอที่จะยอมรับได้  

5.3.2  สังคมวิทยาหลังความทันสมัยภายใต้พื้นฐานแนวคิดด้านการแสดงออกทางเพศ
                ผู้สนับสนุนแนวคิดสังคมวิทยาหลังความทันสมัยจำนวนมาก เห็นว่า การมีครอบครัวเป็นเสมือนสิ่งเลวร้ายที่สุด โรตี้ (2005: 33) คิดเห็นว่า ครอบครัวคริสต์เตียนที่มีลูกจะพยายามสอนลูกๆของตนให้เชื่อในพระเจ้า ความกลัวในพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายและเลวร้าย

                นักคิดหลังความทันสมัย แสดงความเห็นต่อศาสนาคริตส์ อย่างไม่ยำเกรง ในเรื่องความรัก การแต่งงานและการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งนักคิดดังกล่าว ได้แบ่งรูปแบบข้างต้นเป็น ความรักอิสระ(Free Love) เช่น รูปแบบความรักที่ได้จากการติดต่อผ่านสื่ออิเลคโทรนิคหรือช่องทางอินเตอร์เน็ต(Hooking Up) รูปแบบการทดลองอยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศโดยไม่ได้แต่งงาน(Shacking Up) รูปแบบการอาศัยอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงาน(Living Together) การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชายโดยไม่ได้แต่งงานกันในรูปแบบอื่นๆ นักจิตวิทยาบำบัด อดัม ฟิลิปส์ (2005:41) กล่าวถึงข้อสรุปที่เป็นไปได้ถึงเงื่อนไขข้อตกลงของการแต่งงาน และได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ใดๆในลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา   “ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเดียวเท่านั้นคือการทดลอง และอะไรคือการทดลอง  ในความเป็นจริงยังไม่มีความชัดเจนว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทดลองนั้นกระทำไปเพื่ออะไรกันแน่” สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตปกติในทางจิตวิทยาถือว่า การมีความรัก การมีเพศสัมพันธ์กันด้วยความรักไม่ใช่เรื่องเล็กๆน้อยๆ”     

                เป็นความจริงที่ว่า ปทัสถาน(Norm) ในสังคมตะวันตกมีจารีตประเพณีในเรื่องเพศแตกต่างและหลากหลายตามพื้นฐานของแต่ละครอบครัว  บรรดาพวกนิยมแนวคิดหลังความทันสมัย (Postmodernist) เห็นว่า ปทัสถานของนักนิยมการมีเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างหลากหลาย (Heterosexist) มาจากการเปิดกว้างของสังคม นำไปสู่พฤติกรรมอันเป็นรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและถือว่าเป็นการประพฤติ ปฏิบัติที่ไม่มีคุณธรรมในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์กลับไปสู่ชีวิตที่ป่าเถื่อน เพราะฉะนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนชีวิตดังกล่าวให้เกิดค่านิยมผัวเดียวเมียเดียวและยกระดับค่านิยมให้อยู่เหนือกระแสหลักทางสังคมภายใต้พื้นฐานของตนเอง  

                แนวคิดหลังความทันสมัย กระตุ้นให้มีการเปิดโอกาสในการสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์ทางเพศ ฟูโกต์ เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือทางเพศเพื่อให้เกิดความริเริ่มในการพูดคุยด้านความหลากหลายของการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งฟูโกต์และแอนเดอร์สันเห็นพ้องกันว่า กิจกรรมทางเพศในสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ผิดปกติและพฤติกรรมเบี่ยงเบนเช่น พฤติกรรมระหว่างผู้ชายที่นิยมเด็กๆเป็นต้น ทั้งนี้เกิดจากสังคมที่ไม่สามารถปิดกั้นปรากฏการณ์การณ์ทางสังคมดังกล่าวนั้นได้
               
                เราจะใช้แนวคิดอะไรในการคิดในสิ่งที่คนปกติไม่คิดหรือสิ่งที่คนส่วนมากไม่ยอมรับ  ปัจจุบัน สภาวะของพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมผิดปกติทางเพศเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และสาธารณะชนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไร้คุณธรรมต่อการแสดงออกของพฤติกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แอนเดอร์สัน (Anderson, 1997) แสดงความคิดเห็นว่า รูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศที่หลากหลายกับรูปแบบรักร่วมเพศ ยังไม่มีความชัดเจนว่า เป็นความผิดปกติหรือเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งยังคงต้องมีการตั้งคำถามและรอดูต่อไปว่า ในสังคมส่วนอื่นๆจะนิยามความเป็นจริงทางสังคมนี้ว่าอย่างไร

                โดยภาพรวมของทัศนะหลังความทันสมัยทางสังคมวิทยา นักสังคมวิทยาใช้คำว่า “ความเท่าเทียมทางเพศ” ซึ่งทำให้แต่ละบุคคลนิยามความต้องการและความประสงค์ที่จะแสดงออกทางเพศของตนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมหรือความเสมอภาค

5.3.3 สังคมวิทยาหลังความทันสมัยกับวิธีการด้านศึกษา   
                แอนเดอร์สัน(1997)อธิบายถึงเป้าหมายและวิธีการนำแนวคิดหลังความทันสมัยมาปรับใช้กับการศึกษา เขาแสดงทัศนะว่า “ ลัทธิหลังความทันสมัยปฏิเสธ แนวความคิด ด้านการศึกษาปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายในการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นความสามารถด้านความนึกคิดเพื่อเหตุผลที่ว่า ต้องการสร้างความสามารถของเด็กในโลกใบนี้ให้มีความเชื่อมั่นและมีความคิดที่เป็นอิสระสูง ต่อมาการศึกษาดังกล่าวได้ถูกแทนที่ด้วยการศึกษาโดยวิธีการที่ให้ความสำคัญแก่อัตตลักษณ์ทางสังคม”  วิธีการศึกษา นำเอารูปแบบการศึกษาด้านภาษามาใช้เป็นหลัก ดังนั้นภาษาจึงถูกนำไปใช้เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศและชนชั้น

                มีการยกตัวอย่างของวิธีการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ แอนเดอร์สันเสนอว่า วิธีการของการศึกษาควรเน้นการทำงานไม่ใช่เน้นในเรื่องกฎระเบียบ มาตรฐานหรือหลักการที่มาจากการพิจารณาด้วยการตัดสินจากการแข่งขัน มุ่งความสำเร็จที่ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากการทำสีผ้าให้ขาว (Non-Whites) สิ่งที่ประวัติศาสตร์ต้องเน้นเป็นพิเศษคืออาชญากรผู้บริสุทธิ์ (คนยากจนและถูกสังคมกดดัน) ผู้หญิง และผู้ร่ำรวย การศึกษาควรสอนให้เด็กมีระบบวิธีการหาความรู้โดยไม่เน้นการปลูกฝังในเรื่องการหากำไร การปลูกฝังในเรื่องการสะสมทรัพย์สินหรือการปลูกฝังเพื่อการแข่งขันสู่ชัยชนะ แต่ควรเน้นความเสมอภาคในการเลือกวิธีการและการเลือกที่จะรับความรู้ ครูในยุคหลังสมัยใหม่ควรรับรู้ความเป็นจริงด้านวัฒนธรรม แม้ว่าปัจจุบันจะเกิดวิกฤติทางวัฒนธรรมอันเป็นค่านิยมในเชิงอัตตวิสัยก็ตาม วิกฤติดังกล่าวได้แก่ เชื้อชาติ เพศ การแบ่งชนชั้น การต่อต้านค่านิยมในเรื่อง ความนิยมทางเพศ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องในระดับสากล    

                นอกจากนั้นมีแนวคิดที่เสนอว่า ควรมีการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยในยุคหลังความทันสมัยควรจัดการศึกษาโดยไม่เน้นการศึกษาตามจารีต (Non-Traditional) การศึกษาควรมุ่งประเด็นเรื่อง ความนิยมเรื่องเพศ  เชื้อชาติและเพศ  ทั้งนี้ แอนเดอร์สันได้ยกตัวอย่างหลักสูตรและรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของอเมริกา เช่น
วิชาอัตลักษณ์ของชุมชนเลสเบี้ยนในหลักสูตรการศึกษาสิทธิสตรี มหาวิทยาลัยเสตนฟอร์ด สนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ บทบาท การแบ่งแยก อัตตลักษณ์และความหลากหลายของชุมชนเลสเบี้ยน

มหาวิทยาลัยของรัฐ(Traditional-Universities)และโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ภาคตะวันออกของอเมริกา ยอมรับในหลักสูตรที่เน้นการศึกษาสิทธิสตรีมากกว่าหลักสูตเศรษฐศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยบราว มหาวิทยาลัยดาร์ตเมาส์

                ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาเช่น  ริชาร์ด ซิลเลอร์ (Richard Zeller) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัยบราวนิ่งกรีนเสทตในรัฐโอไฮโอ (Bowling Green State University) พยายามจัดทำและเปิดหลักสูตรเพื่อการศึกษาด้านสิทธิสตรีจนประสบผลสำเร็จหลังจากได้รับการต่อต้านจากฝ่ายต่างของมหาวิทยาลัยมากว่า 25 ปี

5.4 แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยาโดยสรุป
                แนวคิดหลังความทันสมัยซึ่งนักวิชาการของไทยมีความคิดเห็นว่า ยังคงเป็นเรื่องในระดับแนวคิด ไม่ได้เป็นความรู้ขั้นสูงในระดับทฤษฎี  อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังคงมีประโยชน์ในด้านการนำไปสู่การวิพากษ์แนวคิดในยุคความทันสมัย ทำให้เกิดประโยชน์ต่อแนวทางการศึกษาในสาขาสังคมวิทยาและสาขาอื่นๆเช่น สาขากฎหมายที่อาศัยลักษณะร่วมของหลักรัฐศาสตร์มากขึ้น สาขาการเมืองซึ่งเน้นการแก้ไขความขัดแย้งและให้ความสำคัญต่อชุมชนและการสร้างความเชื่อมโยงในลักษณะเครือข่ายทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติและนานาชาติ เป็นต้น

                แม้ว่าแนวคิดหลังความทันสมัยจะไม่เชื่อในระเบียบวิธีและความรู้ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีในยุคความทันสมัย แต่ก็กำลังค้นหาระเบียบวิธีใหม่ๆเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งในที่สุดก็ต้องมีระเบียบวิธีอยู่ดี  การโจมตีระเบียบวิธีของวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของยุคทันสมัย โดยพยายามที่จะหาระเบียบวิธีด้วยการศึกษาจากความเป็นจริงทางสังคมก็ไม่ได้ทำให้แน่ใจได้ว่า การศึกษาแบบยุคหลังความทันสมัยจะปราศจากอคติ และไม่ได้หมายความว่า การไม่เชื่อในนัยสำคัญทางสถิติที่ถูกคิดค้นจากแนวคิดยุคทันสมัยจะไม่ถูกนำมาใช้ในยุคหลังความทันสมัย

                ประเด็นที่สามารถพิจารณาได้อีกประการหนึ่งคิอ กระแสหลังความทันสมัยซึ่งเน้นนวัตกรรมของคำนิยามใหม่ๆเพื่อรองรับพฤติกรรมและการปฏิบัติตนภายในสังคม ยังคงมาจากพื้นฐานของแนวคิดกระแสหลักทางสังคม อันเป็นกลุ่มแนวคิดหลังความทันสมัยที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสมาชิกของลัทธิความทันสมัย  อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มวิชาการที่เสนอความคิดให้สังคมแสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม การให้ความสำคัญต่อความเป็นจริงที่ถูกต้อง ซึ่งกลุ่มแรกมองว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังเช่น ทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทย  ที่บางกลุ่มมองว่าเป็นเพียงกลไกในการสร้างความสมดุลให้กับสังคมไม่สามารถนำมาปฏิบัติอย่างเข้มข้นในสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ ซึ่งก็ไม่ผิดแต่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวมีพัฒนาการของวิธีการ อันสอดคล้องกับวิธีการอื่นๆในโลกที่คิดอย่างเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดการดำรงอยู่ของสังคมอย่างถาวรและยั่งยืนตลอดไป    

Adam Phillips, 2005. The Weekly Standard, November 14: 41.
Adolf Bastian, Leipzig, 1860. Der Mensch in der Geschichte. Zur Begründung einer
psychologischten Weltanschauung.
Brown, David K.,Social Blueprints,2004.Conceptual Foundations of Sociology.USA:Oxford
University Press.
Baron d’Holbach,1875. The System of Nature or Laws of the Moral and Physical .World. A
new and approved edition with notes by Diderot, translated by H.D. Robinson. Boston.
Schaeffle. the theory of the organic state.
Buchheit. Klaus Peter: "Die Verkettung der Dinge. Stil und Diagnose im Schreiben Adolf
Bastians" (Concatenation of things. Style and Diagnosis as methods of Adolf Bastian's writing and of writing Adolf Bastian), Lit Verlag Münster,2005.
Buchheit, Klaus Peter; Klaus Peter Koepping"Adolf Philipp Wilhelm Bastian", in: Feest/Kohl
(Hg.), 2001. "Hauptwerke der Ethnologie", Kröner Stuttgart :19-25
Buchheit, Klaus Peter: "The Concatenation of Minds" (an essay on Bastian's conception of
lore), in:Rao/Hutnyk (Hg.),2006"Celebrating Transgression. Method and Politics in Anthro pological  Studies of Culture", Berghahn Oxford New York :211-224.



Buchheit, Klaus PeterThe World as Negro and déjà vue (an essay on Adolf Bastian and the
self-deconstructing infringements of Buddhism, jargon, and racism as means of intercultural diagnosis), in: Manuela Fischer, Peter Bolz, Susan Kamel (eds.), Adolf Bastian and his universal archive of humanity,2007. The origins of German anthropology. Georg Olms Verlag, Hildesheim, Zürich, New York :39-44
Capozzi, R.2004. La possibilità come metodo della ragione: La logica dell’analogia nelle
Scienzen sociali. InterConoscenza—Rivista di psicologia, psicoterapia e scienze
cognitive, vol. 2, no. 1, pp. 1–155.
Ember,Carol R.,1997. Cultural Anthropology.USAPrentice-Hall. 
E. de Roberty, 1894. AUGUSTE COMTE ET HERBERT SPENCERCONTRIBUTION A
L'HISTOIRE DES IDÉES PHILOSOPHIQUES AU XIXe SIÈCLE. Produced by Marc D'Hooghe. http://www.gutenberg.org/catalog/world/readfile?fk_files =1505960. o ctober 16, 2005 [EBook #16888]. Download 1 Appril 2011.
Gumplowicz, Ludwig; Moore, Frederick W.  (Translator), 1999The Outlines of Sociology.
Kitchener, Ontario, Canada: Batoche Books145. http://site.ebrary.com/lib/ suandusit/Doc?id=2001996&ppg=145 Copyright © 1999.Batoche Books. All rights reserved. Download 1 Appril 2011.
 Harriet Martineau 1875,“The Positive Philosophy of Auguste Comte,” freely translated by 
                Harriet Martineau. London. H.D. Robinson, A new and approved edition with notes by
Diderot.
Hewett, Caspar,2008. Henri de Saint-Simon, the Great SynthesizerLeopold, David Saint-
Simon,Claude-Henri de Rouvroy in E. Craig (ed.). Routledge Encyclopaedia of
Philosophy, London, 1998.
Koepping, Klaus-Peter,1983. Adolf Bastian and the Psychic Unity of Mankind: The
Foundations of Anthropology in Nineteenth Century Germany. St. Lucia:
University of Queensland Press.
Lowie, Robert,1937. The History of Ethnological Theory. Holt Rhinehart (contains a chapter
on Bastian).Olsen, H.E.,1968. The Process of Social Organization. New York: Holt,
Rinehart, and Winston.

Paul von Lilienfeld, 1873. a Gedanken ueber eine Sociawissenschaff der Zukunft.Vol. i, p. 25
Tylor, Edward B. (1905) "Professor Adolf Bastian." Man 5:138-143.http://www.oknation.
net/blog/dasri/2009/03/14/entry-1. Download 1 Appril 2011.
Richard Rorty and Gianni Vattimo,2005. The Future of ReligionNew York, NYColumbia
University Press: 33. www.moe.go.th/moe/upload/news_research.
Wilhelm Frels,2010Literarisches Centralblatt Fr Deutschland, Volume 26, Deliverable
Countries. This product ships to United Arab Emirates, Australia, Belgium, Bahrain, Switzerland, China, Germany, Spain, Finland, France, Hong Kong, Indonesia, India, Japan, Kenya, Kuwait, Sri Lanka, Malaysia, Netherlands, New Zealand, Russia, Saudi Arabia, Singapore, Thailand, South Africa.
-->

Comments

ส.ท.กฤษดากร แสวงผล
รหัสนักศึกษา65423471163
1. ให้ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ตอบ = การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์ดำเนินการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคลากรที่มีคุณสมบัติดหมาะสมเข้าปฎิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งใส่ใจพัฒนา บำรุงรักษาให้บุคลากรที่ปฎิบัติงานได้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีในการปฎิบัติงาน และยังรวมถึงการแสวงหาวิธีการที่ทำให้บุคลากรในองค์การที่ต้องพ้นจากการปฎิบัติงานด้วยเหตุทุพพลภาพ เกษียณอายุ หรือเหตุอื่นใดในงานให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานคนเดียวและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตัวอย่างของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ การอบรม คอร์สเรียนต่างๆ การสร้างระบบแบ่งปันข้อมูลในองค์กร และการสร้างกระบวนการให้คำแนะนำระหว่างผู้จัดการและพนักงาน

2. ให้ความหมายของการสรรหาและการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
ตอบ = การสรรหาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการแสวงหากลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสมกับองค์การ ให้เข้ามาร่วมงานโดยเริ่มตั้งแต่การก่อให้เกิดความสนใจในงาน การประกาศให้ทราบถึง ตําแหน่งลักษณะงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อชักจูงให้บุคคลเกิดความสนใจในงานขององค์การ และมาสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเข้าทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน โดยการสรรหาทรัพยากรมนุษย์จําเป็นต้องดําเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถหาบุคคนที่ต้องการให้ได้ตามเวลาที่กําหนด โดยที่ต้นทุนไม่มากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามแม้กระบวนการในการสรรหาทรัพยากรมนุษย์จะดีสักเพียงใด หากกระบวนการคัดเลือก ทรัพยากรมนุษย์ไม๋มีความชัดเจน ก็ยากที่องค์การจะประสบความสําเร็จในการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์
การคัดเลือกบุคคลเข้าทํางานนับได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญมาก เพราะการที่องค์การได้บุคลากรที่ไม่เหมาะสมกับงาน หรือมีคุณภาพตํ่าทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ที่ต้องการสําหรับงานนั้นโดยเฉพาะจะส่งผลกระทบต่อองค์การอย่างแน่นอน ดังนั้น ความจําเป็นที่จะคัดเลือกคนเก่งและคนดีเข้ามาทํางานนั้น จึงเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทําด้วยความละเอียดรอบคอบมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะฉะนั้นการที่องค์การจะดําเนินงานให้บรรลุ เป้าหมายต้องมีบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และหากองค์การต่องการมี บุคลากรที่มีคุณภาพก็ต้องมีระบบการสรรหา และคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่ทันสมัยและเป็นระบบองค์การภาครัฐมีกฎหมายและระเบียบแบบแผนกําหนดวิธีการ ปฏิบัติด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน ทุกองค์การของรัฐจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ซึ่งในการที่จะปรับเปลี่ยนคงจะต้องใช้เวลาความพยายาม และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

3. เขียนกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์มาพอสังเขป
ตอบ = มี  6  ขั้นตอน  คือ
            1.  ศึกษาเป้าหมายและแผนขององค์การ  เป็นขั้นตอนการเตรียมการก่อนการวางแผน  จะต้องศึกษาถึงเป้าหมายและแผนขององค์การซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อการวางแผนกำลังคน  จำเป็นต้องทราบว่าองค์กรมีเป้าหมายอย่างไร  แนวโน้มจะขยายกิจการหรือแผนการผลิตอย่างไร
            2.  วิเคราะห์สถานการณ์  ทั้งภายในและภายนอกองค์การ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมและการวางแผนกำลังคนโดการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต  เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน  ดังนั้นผู้วิเคราะห์สถานการณ์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีเพื่อให้ได้ข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือไปใช้วิเคราะห์เพื่อการวางแผน
            3.  การคาดการณ์ความต้องการ  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว  นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการคาดการณ์ความต้องการบุคลากรซึ่งฝ่ายจัดการจะต้องคาดการณ์ถึงจำนวนบุคลากรที่องค์การต้องการทั้งหมดและนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนที่มีอยู่ในองค์การ  จะทราบว่าบุคลากรในปัจจุบันมีมากหรือน้อยเกินความความต้องการหรือไม่
            4.  การกำหนดแผนปฏิบัติการ  เป็นการกำหนดวิธีการจัดการโดยวิธีการจัดการกำลังคนประกอบด้วยการรับบุคคลเพิ่ม การโยกย้ายภายใน  การจ้างออกและการปรับโครงสร้างภายใน  จากนั้นจึงกำหนดแผนการปฏิบัติงานตามวิธีการจัดการที่เลือกไว้
            5.  การตรวจสอบและการปรับปรุง  ต้องทำการตรวจสอบแผนการปฏิบัติก่อนนำไปใช้  เพื่อพิจารณาถึงข้อบกพร่องและปรับปรุงให้เหมาะสมและพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งว่าวิธีการจัดการที่เลือกมีความเหมาะสม  จะช่วยให้องค์การมีกำลังคนเพียงพอกับความต้องการ 
            6.  ดำเนินการตามแผน  เมื่อได้แผนการปฏิบัติงานที่มีความสมบูรณ์แล้ว  นำแผนงานนั้นไปดำเนินการปฏิบัติตามแผนกที่วางไว้
ส.ท.กฤษดากร แสวงผล
รหัสนักศึกษา65423471163
1. ให้ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ตอบ = การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์ดำเนินการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคลากรที่มีคุณสมบัติดหมาะสมเข้าปฎิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งใส่ใจพัฒนา บำรุงรักษาให้บุคลากรที่ปฎิบัติงานได้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีในการปฎิบัติงาน และยังรวมถึงการแสวงหาวิธีการที่ทำให้บุคลากรในองค์การที่ต้องพ้นจากการปฎิบัติงานด้วยเหตุทุพพลภาพ เกษียณอายุ หรือเหตุอื่นใดในงานให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานคนเดียวและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตัวอย่างของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ การอบรม คอร์สเรียนต่างๆ การสร้างระบบแบ่งปันข้อมูลในองค์กร และการสร้างกระบวนการให้คำแนะนำระหว่างผู้จัดการและพนักงาน

2. ให้ความหมายของการสรรหาและการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
ตอบ = การสรรหาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการแสวงหากลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสมกับองค์การ ให้เข้ามาร่วมงานโดยเริ่มตั้งแต่การก่อให้เกิดความสนใจในงาน การประกาศให้ทราบถึง ตําแหน่งลักษณะงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อชักจูงให้บุคคลเกิดความสนใจในงานขององค์การ และมาสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเข้าทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน โดยการสรรหาทรัพยากรมนุษย์จําเป็นต้องดําเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถหาบุคคนที่ต้องการให้ได้ตามเวลาที่กําหนด โดยที่ต้นทุนไม่มากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามแม้กระบวนการในการสรรหาทรัพยากรมนุษย์จะดีสักเพียงใด หากกระบวนการคัดเลือก ทรัพยากรมนุษย์ไม๋มีความชัดเจน ก็ยากที่องค์การจะประสบความสําเร็จในการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์
การคัดเลือกบุคคลเข้าทํางานนับได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญมาก เพราะการที่องค์การได้บุคลากรที่ไม่เหมาะสมกับงาน หรือมีคุณภาพตํ่าทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ที่ต้องการสําหรับงานนั้นโดยเฉพาะจะส่งผลกระทบต่อองค์การอย่างแน่นอน ดังนั้น ความจําเป็นที่จะคัดเลือกคนเก่งและคนดีเข้ามาทํางานนั้น จึงเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทําด้วยความละเอียดรอบคอบมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะฉะนั้นการที่องค์การจะดําเนินงานให้บรรลุ เป้าหมายต้องมีบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และหากองค์การต่องการมี บุคลากรที่มีคุณภาพก็ต้องมีระบบการสรรหา และคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่ทันสมัยและเป็นระบบองค์การภาครัฐมีกฎหมายและระเบียบแบบแผนกําหนดวิธีการ ปฏิบัติด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน ทุกองค์การของรัฐจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ซึ่งในการที่จะปรับเปลี่ยนคงจะต้องใช้เวลาความพยายาม และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

3. เขียนกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์มาพอสังเขป
ตอบ = มี  6  ขั้นตอน  คือ
            1.  ศึกษาเป้าหมายและแผนขององค์การ  เป็นขั้นตอนการเตรียมการก่อนการวางแผน  จะต้องศึกษาถึงเป้าหมายและแผนขององค์การซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อการวางแผนกำลังคน  จำเป็นต้องทราบว่าองค์กรมีเป้าหมายอย่างไร  แนวโน้มจะขยายกิจการหรือแผนการผลิตอย่างไร
            2.  วิเคราะห์สถานการณ์  ทั้งภายในและภายนอกองค์การ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมและการวางแผนกำลังคนโดการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต  เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน  ดังนั้นผู้วิเคราะห์สถานการณ์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีเพื่อให้ได้ข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือไปใช้วิเคราะห์เพื่อการวางแผน
            3.  การคาดการณ์ความต้องการ  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว  นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการคาดการณ์ความต้องการบุคลากรซึ่งฝ่ายจัดการจะต้องคาดการณ์ถึงจำนวนบุคลากรที่องค์การต้องการทั้งหมดและนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนที่มีอยู่ในองค์การ  จะทราบว่าบุคลากรในปัจจุบันมีมากหรือน้อยเกินความความต้องการหรือไม่
            4.  การกำหนดแผนปฏิบัติการ  เป็นการกำหนดวิธีการจัดการโดยวิธีการจัดการกำลังคนประกอบด้วยการรับบุคคลเพิ่ม การโยกย้ายภายใน  การจ้างออกและการปรับโครงสร้างภายใน  จากนั้นจึงกำหนดแผนการปฏิบัติงานตามวิธีการจัดการที่เลือกไว้
            5.  การตรวจสอบและการปรับปรุง  ต้องทำการตรวจสอบแผนการปฏิบัติก่อนนำไปใช้  เพื่อพิจารณาถึงข้อบกพร่องและปรับปรุงให้เหมาะสมและพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งว่าวิธีการจัดการที่เลือกมีความเหมาะสม  จะช่วยให้องค์การมีกำลังคนเพียงพอกับความต้องการ 
            6.  ดำเนินการตามแผน  เมื่อได้แผนการปฏิบัติงานที่มีความสมบูรณ์แล้ว  นำแผนงานนั้นไปดำเนินการปฏิบัติตามแผนกที่วางไว้

Popular posts from this blog

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 1; ภาค/ ปีการศึกษา 3/2565

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 2 ; ภาค/ปีการศึกษา 3/2565

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 3 ; ภาค/ปีการศึกษา 3/2565