Posts

Showing posts from April, 2013

แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยา

--> แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยา  ( Post modern and Sociolocy)  ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์                 แนวคิดหลังสมัยใหม่เป็นแนวคิดที่เสนอให้ทำความเข้าใจเป้าหมายในระยะยาวของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทางวัฒนธรรมและการขยายตัวเชิงสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในระดับปัจเจก ภายใต้แนวคิดที่ว่า ความสวยงามของชีวิตที่ดำเนินตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งดีงาม ในความเป็นจริงไม่มีมนุษย์ ไม่มีธรรมชาติ และความจริงเป็นสิ่งไม่จริง เป้าหมายของชีวิตคือการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความพยายามที่จะยึดถือค่านิยมใหม่โดยการคิคค้นนวัตกรรมของสื่อภาษาเพื่อรองรับพฤติกรรมของบุคคล  (Featherstone, 1991. p 126) แนวคิดหลังสมัยใหม่คือ สภาพที่บุคคลสูญเสียความศรัทธา ความเชื่อในระบบสากลหรือความเชื่อในระดับรากเหง้าซึ่งแนวคิดในระบบดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพียงเรื่องเล่า (Examples include Socialism; Communism; Feminism; Religions) เช่น สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นต้น  การเล่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นการอธิบายหรือเป็นตำนานหรือเรื่องความนิยมในโลกสมัยใหม่ที่ให้ความ