พื้นฐานการคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองของคนรุ่นใหม่
การวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองที่กลุ่มคนรุ่นใหม่แสดงออกโดยแนวคิดเพียงด้านเดียว
น่าจะใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงและการปะทะสังสรรค์ หรือการกระทำทางสังคมที่เปลี่ยนเป็นวิธีการ
คุกคามด้วยคำพูด เช่น สลิ่ม หมารับใช้ และคำพูดคำดูหมิ่นที่รุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม คำสำคัญและเหตุการณ์สำคัญที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินทางการเมือง
ได้แก่
1. คำว่าสลิ่ม จากเว็ปประชาไทย (https://prachatai.com/journal/2011/11/37957) ระบุว่าเริ่มใข้เมื่อปี
2548 เพื่อไล่คุณทักษิณ เป็นการดูถูกดูแคลนฝ่ายตรงข้าม
มองว่าเป็นพวกใฝ่ลัทธิกษัตรินิยม โหยหาทหาร ไม่เชื่อในประชาธิปไตย
ขาดเหตุผลและขาดความรู้ ล่าสุดมีการนิยามว่า เป็นกลุ่มที่มีความหลงผิดคิดว่าตนเองดีเลิศ
มีคุณธรรมสูงส่งกว่าบุคคลอื่น (Special League of Intellectual and
Morality) นอกจากนั้นยังหมายถึง
ควายแดง แต่การถกเถียงกันนั้นให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นสภาวะของการ
Ignorance หรือการเพิกเฉย มากกว่า
2. แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่อีกประการหนึ่งคือ
อิทธิพลที่มาจากเน็ตไอดอล ทิฟฟานี่ เรด ของวงการเคป๊อป ซึ่งล่าสุดมีข่าวปรากฏในหน้าสื่อสังคมออนไลน์
เรื่องการต่อต้านการกดขี่การเอารัดเอาเปรียบของนายทุน (ค่าย SM Entertainment) และการเหยียดผิว โดยเฉพาะ
3. อิทธิพลที่มาจากแนวคิดในภาพยนต์ ชุด ฮังเกอร์เกม (Hunger Games) ที่ตัวเอกเป็นสตรีผู้ปลดแอกซึ่งมีเครื่องหมายในการต่อสู้คือการชู
3 นิ้ว แนวคิดนี้สะท้อนจากผลงานวิชาการระดับบัณฑิต ม.กรุงเทพ เมื่อปี2562 เรื่อง “ภาพตัวแทนการใช้อำนาจ
การครอบงำ และการต่อต้านขัดขืนในภาพยนตร์ชุด Hunger Games ”
ให้ความกระจ่างด้านอิทธิพลทางความคิดพอสมควร
4. อิทธิพลของภายนต์เกาหลีซึ่งเน้นการสร้างความเป็นประชาธิไตย
โดยแนวคิดมาจากการศึกษาของ จักรกริช สังขมณี (2018) มีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกในการเคลื่อนไหว
และมีผลต่อแนวคิดของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เคลื่อนไหวซึ่งสอดคล้องต่อตัวอย่างคำพูดที่ว่า
“อย่าให้คนผิดลอยนวล” เป็นต้น
สิ่งข้างต้นทำให้เกิดช่องว่างทางความคิดที่ยิ่งห่างจากพื้นฐานวัฒนธรรมในสังคมไทยมากขึ้น
วัฒนธรรมของเกาหลีกำเนิดจากประวัติศาสตร์ที่รันทด จากการรุกรานที่ไร้มนุษยธรรมของญี่ปุ่น
องค์กรอิสระของประชาชนก่อกำเนิดเป็นพื้นฐานขององค์ปกครองท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน
ผิดกับประเทศไทยที่มีการอธิบายผ่านผลงานวิฃาการและปรมาจารย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
ว่ารัฐไทยเป็นรัฐสมบูรณญาสิทธิราชภายใต้วัฒนธรรมนิยมเทวสิทธิ์รวมทั้งการบูชาสิ่งศักสิทธิ์
ทำให้รัฐคือที่พึ่งของประชาชน
เมื่อเกิดความเดือดร้อนจึงมักถึงรัฐบาลกลางไม่ผ่านรัฐบาลท้องถิ่น การเมืองไทยจึงใช้ประชาชนเป็นตัวแปรด้านฐานอำนาจด้วยวิธีชักจูง
และยังมีตัวแปรอื่น ๆ อีกมาก ทำให้เกิดคำถามว่า การแก้ไขข้อบกพร่องทางการเมืองไทยควรจะดำเนินไปอย่างไร
การคิดแบบเส้นตรงโดยไม่ได้เข้าสู่มิติทางความคิดไม่ว่าจะเป็นสังคมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะการคิดแบบกลไกจะนำไปสู่ความบกพร่องทางการมองในระบบคิดแบบมิติ และการคิดของคนรุ่นใหม่ในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเป็นแบบใด
เป็นหน้าที่ของนักวิชาการที่ต้องค้นหาเพื่อมองให้เห็นข้อบกพร่องในการมองเห็น
เนื่องจากภายใต้ระบบคิดแบบมิติจะมีความตื้น ลึก หนา บางรวมทั้งมีความเข้มข้นของการรับรู้
หรือนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ยังคงคิดแบบเดิม???
อ้างอิง
จารุวรรณ
สุขุมาลพงษ์ (2556). แนวโน้มของคอรัปปชั่นในประเทศไทย. สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
กรุงเทพ.
จักรกริช
สังขมณี. (2018). อ่านเกาหลีผ่านวัฒนธรรมบันเทิงร่วมสมัย กับ จักรกริช สังขมณี Retrieved
October 21, from https://www. the101.world/101-one-on-one-ep-30-jakkrit/.
ธร
สถิตวิทยา (2562). ภาพตัวแทนการใช้อ
านาจ การครอบง า และการต่อต้านขัดขืนใน
ภาพยนตร์ชุด Hunger Games . วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประชาไท
/ บทความ. (2011). อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะ
เฉพาะ Retrieved
October 21, http://www.prachatai.com/journal/2011/11/37879).
workpointTODAY (2563).ถอดความหมายจากผู้ชุมนุม #BUกูไม่เอาสลิ่ม Retrieved
October
21 https://workpointtoday.com/political-terms-salim/.
Comments